งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2542 / ลินดา เกณฑ์มา.
Call Number: วจ 305.235 ล438ง 2546 Material type: BookPublisher: กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2546Description: [10], 329 หน้า ; 30 ซมOther title: การวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่นSubject(s): วัยรุ่น -- ปัญหา | นวนิยายไทย -- ประวัติและวิจารณ์ | วัยรุ่น -- ทัศนคติ | วัยรุ่น -- ไทย -- พฤติกรรม | วัยรุ่น -- วิจัยScope and content: บทคัดย่อ : งานวิจัยฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ.2532-2542 โดยเน้นศึกษาถึงทัศนะเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่นที่ปรากฎในนวนิยาย และกลวิธีการนำเสนอทัศนะดังกล่าวจากนวนิยายจำนวนทั้งสิ้น 22 เรื่อง ; ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ผู้ประพันธ์ได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นที่สำคัญไว้อย่างเด่นชัด 4 ประการ เรื่อง ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร ผิดกฎหมาย ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนถึงสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ว่าเกิดจากอิพทธิพลของครอบครัวที่อบรมเลี้ยงดูบุตรอย่างผิดพลาดประกอบกับสัมพันธภาพที่ไม่ปกติสุขของครอบครัวในลักษณะต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต และเป็นเหตุให้เด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานของสังคมได้ นอกจากนี้ ลักษณะอุปนิสัยส่วนตัวของวัยรุ่นที่ชอบความรุนแรง มีอารมณ์ปรวนแปรอ่อนไหวง่าย และชอบต่อต้านกฎระเบียบที่เข้มงวดต่าง ๆ รวมจนถึงสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นแรงผลักดันให้ปัญหาวัยรุ่นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ; ผู้ประพันธ์ได้เสนอว่า การแก้ไขต้องเริ่มที่ครอบครัว โดยบิดาต้องให้ความรักความเอใจใส่อย่างเพียงพอ การเลื้ยงดูควรยึดทางสายกลาง และเน้นความสำคัญทางด้านจิตใจมากกว่าด้านวัตถุ การตั้งความคาดหวังกับสมาชิกให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ส่วนปัญหาที่เกิดจากอุปนิสัยส่วนตัว ผู้ประพันธ์เสนอว่าเสนอว่าทุกคนในครอบครัวต้องพยายามยอมรับ และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น รู้จักฝึกใจตนให้แข็งแกร่ง อดทนกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น และหาทางระบายความเครียดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ในขณะเดียวกันทุกองค์กรในสังคมต้องหันมาร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ไขสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ขึ้น ถ้าทำได้เช่นนี้ปัญหาวัยรุ่นก็จะลดความรุนแรงได้ (มีต่อ)Summary: ด้านกลวิธีการนำเสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่น พบว่า ผู้ประพันธ์นิยมตั้งชื่อเรื่องให้แปลกและเร้าความสนใจจากผู้อ่าน เพื่อมุ่งเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะตั้งชื่อโดยนำสัญลักษณ์มาเปรียบกับพฤติกรรมของตัวละคร หรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติในเนื้อเรื่องตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำหรือข้อความเพื่อสรุปบรรยากาศ ฉาก หรือสภาพแวดล้อมในเรื่อง นอกจากนี้จะตั้งชื่อเรื่องจากลักษณะเด่นของวัยรุ่น และตั้งชื่อเรื่องโดยใช้ข้อความที่ยาวเพื่อสรุปแนวเนื้อหาของเรื่องตามลำดับ ส่วนการสร้างโครงเรื่องให้เอื้อต่การนำเสนอแนวคิดนั้น ผู้ประพันธ์จะนิยมใช้การสร้างความขัดแย้งระหว่างตัวละคร ตัวละครกับสังคม และความขัดแย้งภายในใจของตัวละคร มีการผูกโครงเรื่องย่อยเพื่อเสริมแนวคิด และการจบเรื่องนิยมจบแบบโศกนาฏกรรมเพื่อสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่าน ผู้ประพันธ์จะสร้างตัวละครให้เป็นตัวแทนของบุคคลต่าง ๆ เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นผ่านบทสนทนาดังกล่าว นอกจากนี้ได้เสนอทัศนะผ่านการเล่าเรื่องในมุมมองของผู้แต่ง หรือเรียกว่าทัศนะแบบรู้แจ้ง นำเสนอทัศนะผ่านสายตาของตัวละครสำคัญในเรื่องหรือทัศนะแบบบุรุษที่ 1 และเสนอทัศนะแบบกระแสสำนึกของตัวละครตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ตลอดจนได้มองบทบาทของวรรณกรรมประเภทนวนิยายในแง่ของการเป็นสื่อกลางถ่ายทอดปัญหาสังคมมายังผู้อ่าน.Item type | Current library | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode |
---|---|---|---|---|---|---|
Thesis/Research | สำนักวิทยบริการ (Center) ชั้น 7 หนังสือรายงานการวิจัย | วจ 305.235 ล438ง 2546 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000004519 | |
Thesis/Research | สำนักวิทยบริการ (Center) ชั้น 7 หนังสือรายงานการวิจัย | วจ 305.235 ล438ง 2546 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000004520 |
บทคัดย่อ : งานวิจัยฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ.2532-2542 โดยเน้นศึกษาถึงทัศนะเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่นที่ปรากฎในนวนิยาย และกลวิธีการนำเสนอทัศนะดังกล่าวจากนวนิยายจำนวนทั้งสิ้น 22 เรื่อง ; ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ผู้ประพันธ์ได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นที่สำคัญไว้อย่างเด่นชัด 4 ประการ เรื่อง ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร ผิดกฎหมาย ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนถึงสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ว่าเกิดจากอิพทธิพลของครอบครัวที่อบรมเลี้ยงดูบุตรอย่างผิดพลาดประกอบกับสัมพันธภาพที่ไม่ปกติสุขของครอบครัวในลักษณะต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต และเป็นเหตุให้เด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานของสังคมได้ นอกจากนี้ ลักษณะอุปนิสัยส่วนตัวของวัยรุ่นที่ชอบความรุนแรง มีอารมณ์ปรวนแปรอ่อนไหวง่าย และชอบต่อต้านกฎระเบียบที่เข้มงวดต่าง ๆ รวมจนถึงสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นแรงผลักดันให้ปัญหาวัยรุ่นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ; ผู้ประพันธ์ได้เสนอว่า การแก้ไขต้องเริ่มที่ครอบครัว โดยบิดาต้องให้ความรักความเอใจใส่อย่างเพียงพอ การเลื้ยงดูควรยึดทางสายกลาง และเน้นความสำคัญทางด้านจิตใจมากกว่าด้านวัตถุ การตั้งความคาดหวังกับสมาชิกให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ส่วนปัญหาที่เกิดจากอุปนิสัยส่วนตัว ผู้ประพันธ์เสนอว่าเสนอว่าทุกคนในครอบครัวต้องพยายามยอมรับ และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น รู้จักฝึกใจตนให้แข็งแกร่ง อดทนกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น และหาทางระบายความเครียดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ในขณะเดียวกันทุกองค์กรในสังคมต้องหันมาร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ไขสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ขึ้น ถ้าทำได้เช่นนี้ปัญหาวัยรุ่นก็จะลดความรุนแรงได้ (มีต่อ)
ด้านกลวิธีการนำเสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่น พบว่า ผู้ประพันธ์นิยมตั้งชื่อเรื่องให้แปลกและเร้าความสนใจจากผู้อ่าน เพื่อมุ่งเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะตั้งชื่อโดยนำสัญลักษณ์มาเปรียบกับพฤติกรรมของตัวละคร หรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติในเนื้อเรื่องตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำหรือข้อความเพื่อสรุปบรรยากาศ ฉาก หรือสภาพแวดล้อมในเรื่อง นอกจากนี้จะตั้งชื่อเรื่องจากลักษณะเด่นของวัยรุ่น และตั้งชื่อเรื่องโดยใช้ข้อความที่ยาวเพื่อสรุปแนวเนื้อหาของเรื่องตามลำดับ ส่วนการสร้างโครงเรื่องให้เอื้อต่การนำเสนอแนวคิดนั้น ผู้ประพันธ์จะนิยมใช้การสร้างความขัดแย้งระหว่างตัวละคร ตัวละครกับสังคม และความขัดแย้งภายในใจของตัวละคร มีการผูกโครงเรื่องย่อยเพื่อเสริมแนวคิด และการจบเรื่องนิยมจบแบบโศกนาฏกรรมเพื่อสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่าน ผู้ประพันธ์จะสร้างตัวละครให้เป็นตัวแทนของบุคคลต่าง ๆ เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นผ่านบทสนทนาดังกล่าว นอกจากนี้ได้เสนอทัศนะผ่านการเล่าเรื่องในมุมมองของผู้แต่ง หรือเรียกว่าทัศนะแบบรู้แจ้ง นำเสนอทัศนะผ่านสายตาของตัวละครสำคัญในเรื่องหรือทัศนะแบบบุรุษที่ 1 และเสนอทัศนะแบบกระแสสำนึกของตัวละครตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ตลอดจนได้มองบทบาทของวรรณกรรมประเภทนวนิยายในแง่ของการเป็นสื่อกลางถ่ายทอดปัญหาสังคมมายังผู้อ่าน.
There are no comments on this title.