ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา / วรเจตน์ ภาคีรัตน์
Call number: 340.1 ว188ป 2564 Material type: BookPublisher: กรุงเทพฯ : อ่านกฎหมาย, 2564Edition: พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุงDescription: 515 หน้า ; 24 ซมISBN: 9786168300008 :Subject(s): นิติศาสตร์ -- ปรัชญา | กฎหมาย -- ประวัติ | หลักนิติธรรมDDC classification: 340.1 ว188ป 2564 Online resources: ดูปกและสารบัญ (see cover and contents)Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode |
---|---|---|---|---|---|---|---|
General Books | สำนักวิทยบริการ (Center) ชั้น 4 หนังสือทั่วไปภาษาไทย 000-400 | Non-fiction | 340.1 ว188ป 2564 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 3000027333 | |
General Books | สำนักวิทยบริการ (Center) ชั้น 4 หนังสือทั่วไปภาษาไทย 000-400 | Non-fiction | 340.1 ว188ป 2564 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 3000027334 |
มีรายการบรรณานุกรมและดรรชนี
การอุบัติขึ้นของนิติปรัชญาและนิติปรัชญาในยุคเริ่มต้น -- นิติปรัชญาโสฟิสต์ -- กฎหมายและความยุติธรรม : ว่าด้วยปรัชญาของโสคราตีส เพลโต และอาริสโตเติล -- นิติปรัชญาสโตอิกและนิติศาสตร์โรมัน -- นิติปรัชญาสมัยกลาง -- นิติปรัชญาช่วงรอยต่อระหว่างสมัยกลางและสมัยใหม่ -- นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงแรก) -- นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงหลัง) -- นิติปรัชญาปลายศตวรรษที่ 18 และนิติปรัชญาในศตวรรษที่ 19 -- นิติปรัชญาในศตวรรษที่ 20.
ผู้เขียนมุ่งหวังในหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านประกอบการบรรยายวิชานิติปรัชญาของผู้เขียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่หากหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์ วิชาปรัชญา หรือวิชาการทางสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไปที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับปรัชญาและกฎหมาย ผู้เขียนจะรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง หวังว่าหนังสือ ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา เล่มนี้จะช่วยทำให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจ เห็นความหลากหลายในทางความคิดเกี่ยวกับการตอบคำถามที่เป็นปัญหารากฐานของกฎหมายมากขึ้น มีความรอบรู้ มีโลกทัศน์และมีจิตใจที่กว้างขวางขึ้น และหวังว่างานเขียนเรื่องนี้จะช่วยสร้างเสริมเติมแต่งสิ่งที่ยังขาดอยู่ในวงวิชาการทางนิติปรัชญาในประเทศไทยแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม
Comment by กัญญา จันสะบาน
20/09/2021เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นบริบททางประวัติศาสตร์ที่แวดล้อมนักคิดแต่ละคน ด้วยการสำรวจความคิดหลักในทางนิติปรัชญาของนักคิดแต่ละคน เปรียบเสมือนการเดินทางด้วยขบวนรถไฟสำรวจความคิดที่ผู้เขียนเริ่มออกเดินทางจากสถานีต้นทางในยุคกรีกโบราณสู่สถานีปลายทางในศตวรรษที่ ๒๐ ความคิดของนักคิดแต่ละคนเปรียบเสมือนสถานีที่ขบวนรถไฟสำรวจความคิดได้หยุดลงเพื่อให้ผู้เขียนได้มีโอกาสสำรวจสถานีทางความคิดเหล่านั้น แต่ละสถานีทางความคิดมีความน่าสนใจในตัวเองแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่จะต้องเดินทางไปให้ถึงศตวรรษที่ ๒๐ ให้ทันตามกำหนดเวลา ขบวนรถไฟสำรวจความคิดขบวนนี้จึงไม่สามารถหยุดทุกๆ สถานีได้ บางสถานีผู้เขียนต้องผ่านไปก่อน โดยหวังว่าเมื่อมีโอกาสเดินทางย้อนกลับไปจากศตวรรษที่ ๒๐ จะได้หยุดที่สถานีทางความคิดซึ่งจำต้องผ่านเลยไปในการพิมพ์ครั้งแรกนี้